วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ICT in Organization


    ICT(Information and Communication Technology) หมายถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT     
     
     อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า "I" Information สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
    จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ

    "C" Communications การสื่อสาร ขอบ ข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศ ที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้
กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ

    "T" Technology เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว




ภาพประกอบจากhttp://aseanwatch.org/2012/03/16


     ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน

    ไอซีที-ICT ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมอุปกรณ์ 2 สิ่งมาใช้ คือคอมพิวเตอร์ (Technology) ที่ช่วยทำให้การประมวลผลข้อมูล หรือ data มีความรวดเร็วถูกต้อง แม่นยำ เป็นสารสนเทศ (Information) ที่มีความหมายในการบริหารจัดการแล้ว ยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยทำให้โยงใยไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลออกไปได้ด้วยการใช้สาย โทรศัพท์หรือดาวเทียม ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล ข่าวสาร สามารถติดต่อกันได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง เช่น ถ้าอยากทำธุรกรรมติดต่อกับธนาคารไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ธนาคารเอง เพียงนั่งหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โต๊ะทำงาน หรือที่บ้าน หรือเช่าจากร้านเน็ตคาเฟ่ที่มุมใดมุมหนึ่งในโลก แล้วติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ต ติดต่อธนาคารเสมือน (Virtual Bank) เพราะไปที่ธนาคารจริงเราก็ต้องดำเนินการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นั่นด้วย วิธีเดียวกัน เป็นต้น 


    เมื่อเป็นดังนี้โลกก็จะมีสิ่งประดิษฐ์มีสถาน ที่ทั้งที่เป็นของจริงและของที่เสมือนจริง เช่น มีโรงงานเสมือน (Virtual Factory) บริษัทเสมือน (Virtual Corporation) ซึ่งทั้งบริษัททั้งโรงงานจะไม่มีตึกหรือสำนักงานสำหรับพนักงาน แต่พนักงานจะกระจัดกระจายตามจุดต่างๆ ในโลก ติดต่อสื่อสารกันโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ
ภาพประกอบจากhttp://mptc.simtech.a-star.edu.sg/efficiency4.htm




    ประโยชน์จากการนำ ระบบ ICT มาใช้ในองค์กร พอสรุปเป็นข้อได้ดังนี้ 
1.มีความสะดวกรวดเร็วในระหว่างการดำเนินงาน 
2.ลดปริมาณผู้ดำเนินงาน และประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง 
3.ระบบการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบมากขึ้น 
4.ลดข้อผิดพลาดของเอกสารในระหว่างการดำเนินการได้ 
5.สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงานหรือองค์กรได้ 
6.ลดปริมาณเอกสาร (กระดาษ) ในระหว่างการดำเนินงานได้มาก 
7.ลดขั้นตอนในระหว่างการดำเนินการได้มาก  
8.ประหยัดเนื้อที่จัดเก็บเอกสาร (กระดาษ)
ภาพประกอบจากhttp://www.wilpf.net/?page_id=18
     

และหากใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจะเกิดข้อดีคือ 
  
1.เป็นเครื่องมือจัดการเอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่องค์กรต้องใช้ เช่น ระบบการจัดการฐานข้อ มูล (RDBMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยควบคุมและจัดการข้อมูลบนหน่วยความจำสำรอง สามารถสร้าง บำรุงรักษาและเข้าถึงฐานข้อมูลสัมพันธ์ได้

2.เป็น เครื่องมือเพื่อการประยุกต์ใช้ เช่น ใช้จัดทำฐานข้อมูล (Database) และคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Warehouse) เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบ DSS, ระบบ MIS เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานกับเอกสารเพื่อลดการใช้และการจัดเก็บกระดาษด้วย ระบบ Document Management System, ระบบประชุมทางไกล

3.เป็นเครื่อง มือสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้วยระบบอินเตอร์เน็ต อินตราเน็ต (Intranet) เอ็กซ์ตราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นต้น 



ข้อดีของ ICT
ภาพประกอบจากhttp://marina-lovertour.blogspot.com/2011/06/blog-post.html
  - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและประกอบอาชีพ
  - เพิ่มประสิทธิผลให้องค์กร
  - เพิ่มคุณภาพด้านการบริการแก่ลูกค้า
  - ผลิตและขยายผลิตภัณฑ์ใหม่
  - สร้างทางเลือกในการแข่งขันได้
  - สร้างโอกาสทางธุรกิจ
  - สร้างแรงดึงดูดต่อลูกค้า
  - การสนทนาพูดคุยขณะเห็นหน้า ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปพบปะกันจริง



ข้อเสียของ ICT
ภาพประกอบจากhttp://www.indiatimes.com/art-and-culture
  - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมากยิ่งขึ้น
  - การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการลงทุนที่ใช้ต้นทุนสูง  
  - อาจถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงได้
  - เนื้อหาบางประเภทไม่เหมาะสม  เช่น ภาพ ข้อความ วิดีโอ ลามกอนาจารหรือสิ่งผิดกฏหมาย
  - การใช้งานอย่างไม่เหมาะสม เช่น การแพร่กระจายไวรัสคอมพิวเตอร์
 




ความจำเป็นที่ต้องมีการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมา ใช้ในธุรกิจ  

       องค์กรธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต่างจากองค์กรธุรกิจแบบเดิม  เหตุผลต่างๆที่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ


1. โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์องค์กรต่างๆทั้ง     องค์กรธุรกิจ และ องค์กรที่ไม่ใช่ธุรกิจ

2.. องค์กรธุรกิจในอนาคตมีการแข่งขันสูง     

3. องค์กรต้องมีการปรับตัวและออกแบบองค์กรใหม่

4. องค์กรสมัยใหม่ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และแสวงหาโอกาสทางการตลาด 

5.  องค์กรจำเป็นต้องใช้ IT เพื่อช่วยเสริมกลยุทธ์ในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศ 

6. องค์กรต้องประสานงาน  แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็น   ทั้งระหว่างผู้ร่วมงาน   ระดับชั้นงาน   ระหว่างสาขา (OIS)  ระหว่างองค์กร (I-OIS)  เช่น  การส่งข้อมูลยอดขายประจำวันถึงหัวหน้างาน   

          
ภาพประกอบจากhttp://businessbuildersnetwork.com/
 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ


      จากความจำเป็นดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจมีศักยภาพที่ดีขึ้นเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ   เข้ามาช่วยเหลือ  สนับสนุนธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น


1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต  เช่น    ลดต้นทุนการบริหารจัดการ  ช่วยลดบุคลากรหรือใช้  บุคลากรในองค์กรได้เต็มศักยภาพมากขึ้น     

2. ช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์และตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ดีขึ้น


3. ช่วยสร้างสรรค์และพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารจัดการให้ได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น


4. ช่วยให้องค์บรรลุผลสำเร็จในการจัดการเชิงกลยุทธ์ตามแผนที่วางไว้


5. ช่วยให้เกิดการปรับโครงสร้างองค์กรหรือปรับรื้อองค์กรในทิศทางที่ดีได้


6. ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น     

 
การจัดการเกี่ยวกับธุรกิจอาชีพด้วยระบบ ICT
      ในการประกอบอาชีพธุรกิจทุกประเภท ผู้ประกอบการควรมีความรู้ในด้านการจัดการภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกกิจการ สิ่งที่สำคัญจะต้องจัดการประสานระหว่างแรงงาน (คน) วัตถุดิบ เทคโนโลยี และเงินทุนให้ได้สัดส่วนที่  เพื่อให้ การประกอบอาชีพธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายของกิจการ ผู้ประกอบการควรนำหลักการมาใช้ในการประกอบอาชีพธุรกิจ ดังนี้ 
1. กำหนดเป้าหมายของธุรกิจ เป้าหมายของธุรกิจจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปในทิศทางธุรกิจที่ถูกต้อง 
2. กำหนดนโยบายของธุรกิจ จะเป็นแนวทางธุรกิจดำเนินไปได้บรรลุเป้าหมาย
3. การวางแผนเป็นวิธีการดำเนินงานซึ่งจะต้องสอดคล้องกับนโยบายที่จะนำไปสู่เป้าหมายของธุรกิจ  เป็นต้น



การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

    องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่า คู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำ งานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน

ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร

    เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตก ต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้า ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิต สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในภาพรวมขององค์กรได้ดังนี้

  1. จัดการด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่และความเร็วสูง
  2. จัดให้มีการสื่อสารที่มีราคาไม่แพง แม่นยำ และรวดเร็วให้มีใช้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร
  3. ทำการเก็บสารสนเทศขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้เนื้อที่น้อย
  4. สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมากจากทั่วโลกอย่างรวดเร็วและราคาไม่แพง
  5. สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันจากทุก ๆ ที่ทุกเวลา
  6. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน
  7. ทำให้เป็นอัตโนมัติทั้งกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติและงานที่ยังใช้มือทำ (Manual)
  8. ช่วยแปลความหมาย (Interpretation) จากข้อมูลจำนวนมหาศาล
  9. ช่วยด้านกิจการการค้าทั่วโลก (Global Trade)
  10. สามารถดำเนินงานแบบไร้สาย (Wireless) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบเฉพาะ
  11. การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ต้องมีราคาถูกกว่าการทำด้วยมือ (Manual)
  12. สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ คือ ปรับปรุงผลิตผล (Improving Productivity) ลดต้นทุน (Reducing Cost) สนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า (Enhancing Customer Relationship) และพัฒนาการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ

 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ภาพประกอบจากhttp://nationalnetworks.com/site/commercial-services/networking.php
   networked computing คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาด ใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  1. ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ
  2. ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Harddisk , CPU เป็นต้น
  3. บริการ (Service)

 

ระบบเรียลไทม์ (Real-time)

ภาพประกอบจากhttp://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2012/05/I12071499/I12071499.html
   The real-time enterprise and list of characteristic  : ระบบ real-time และลักษณะของระบบ
Rail time enterprise เป็นระบบระบบหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาลดเวลาในระหว่าง เมื่อมีข้อมูลที่จะบันทึกเข้าไปในระบบและเมื่อข้อมูลจะเข้าสู่การประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการและนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ และนี่ก็เป็นสี่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในเรื่องของความแตกต่างทางด้านธุรกิจ
ลักษณะของระบบ

  1. ความรู้จากการดำเนินการของคุณ
ลักษณะพิเศษของระบบ real-time คือ มีการทำงานร่วมกันภายในระบบโดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้รู้โครงสร้างในการตัดสินใจทางธุรกิจ

  1. ผลที่ได้ของระบบ
การส่งของมูลของระบบ real-time จะส่งอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งมีการโต้ตอบหากเกิด Event บางอย่างเช่น หากมีการส่งสินค้าช้า ควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. เข้าใจในผลประโยชน์ของคุณ
ระบบ real-time มีจุดมุ่งหมายที่จะรองรับผลประโยชน์ทั้งหมดอย่างรวดเร็วเหมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจของคุณ

แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization)

    แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นการปรับกระบวนการผลิตและโครงสร้างขององค์กรไม่ให้มีข้อจำกัดมากเกินไป แต่ให้มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง โดยสามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าที่แตกต่างกันได้เป็นรายคน มีระดับราคาที่ไม่ห่างจากการผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนมากที่มีมาตรฐานการ (Standardization) ถ้าสินค้าของเรามีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจมีความได้เปรียบนาน แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นโมเดลใหม่ที่มาแทนที่ Mass Production ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากๆ ขึ้นอยู่กับต้นทุน เพื่อให้ได้ผลกำไรให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างของแมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เช่น บริษัทพีซีคอมพิวเตอร์เปิดเว็บไซด์ (Website) ขึ้นมาสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์พีซี ลูกค้าสามารถกำหนดความต้องการ หรือกำหนดสเปกของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เลือก Main Board ที่ชอบ หรือ CPU ที่พอใจ พอใส่ข้อมูลเสร็จทาง เว็บไซด์ (Website) ก็จะคำนวณราคาให้ตามที่ลูกค้าต้องการ


องค์กรที่มีการนำระบบ ICT เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ หรือเข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการต่าง ๆ 

ภาพประกอบจากwww.acl.ac.th



โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
      โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางได้นำระบบเทคโนโลยีICT มาใช้ภายในโรงเรียน โดยมีระบบE-Learning เข้ามาใช้ประกอบในการเรียนการสอน มีระบบE-Office ใช้ในการใช้ปฏิบัติงานทั่วไปในแต่ละวันของบุคลากรในโรงเรียน และรวมถึงมีการใช้Webmail-ACL ซึ่งเป็นอีเมลล์ของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

    E-Learning เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ซึ่งมีเนื้อหาประกอบการเรียนและเป็นใช้ส่งการบ้านรายวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอนอยู่มากมาย เช่น โปรแกรมSwishmax ,Dreamweaver เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากE-Learning
1. นักเรียนสามารถส่งการบ้านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้ โดยไม่ต้องมาส่งที่โรงเรียน
2. นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้จากที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
3. อาจารยืมีความสะดวกสบายในการตรวจเช็คการบ้านและให้คะแนน

    E-Office คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็คโทนิค การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย
    
ประโยชน์ที่ได้รับจากE-Office
1. บุคลากรในโรงเรียนมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กร
2. เพื่อลดเวลาในการติดต่สื่อสารกันในองค์กร
    Webmail-ACL คือE-mailของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ซึ่งจะใช้ชื่อเซิฟเวอร์@acl.ac.th มีไว้เพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปางได้ใช้งานอีเมลลืของโรงเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับจากWebmail-ACL
1. ตรวจสอบได้ง่ายว่าอีเมลล์เป็นของดรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
2. เป็นอีเมลล์ที่เพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันภายในโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง



ความคิดเห็นต่อระบบICT ในยุคปัจจุบัน

    ระบบICT ในปัจจุบันมีการนำไปใช้ที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งาน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่ใช้งาน โดยประโยชน์ของระบบICT คือ เพิ่มความสะดวกสบายของการติดต่อสื่อสารของผู้คนในSocial Network โดยที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าระยะทางจะห่างไกลกันแค่ไหนก็สามารถติดต่อกันได้ และประโยชน์ที่จะตามมาก็คือ การรับข้อมูลข่าวสารที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น จึงทำให้การติดตามข่าวสารจำนวนมากๆเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และอาจจะนำไปใช้ร่วมในการพัฒนาองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัทห้างร้านต่างๆได้
    แต่ผลเสียของการใช้ระบบICT นั้นก็มีแฝงมากับประโยชน์ของระบบICTเช่นกัน เช่น หากผู้ใช้งานนำข้อมูลต่างๆที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ นำมาเผยแพร่ จะทำให้ผู้รับสารหรือผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้รับผลกระทบเชิงลบ ซึ่งเป็การกระทำที่ผิดศีลธรรมและกฏหมายอิเล็กทรอนิกส์






เอกสารอ้างอิง